วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562

“ผื่นผิวหนังอักเสบที่มือ” โรคฮิตวัยทำงาน จากการสัมผัส “น้ำ-ผงซักฟอก-แชมพู”


“ผื่นผิวหนังอักเสบที่มือ” โรคฮิตวัยทำงาน จากการสัมผัส “น้ำ-ผงซักฟอก-แชมพู”

สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ เผยผู้ที่มีอาชีพที่มือต้องสัมผัสกับน้ำเป็นประจำ  ผู้ที่เป็นผื่นผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ในวัยเด็ก เสี่ยงโรคผิวหนังที่มือ เหตุจากสารเคมีหรือสารที่ทำให้ระคายเคือง แนะวิธีดูแลและป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดโรคหรือกลับมาเป็นซ้ำ

 

โรคผื่นผิวหนังอักเสบที่มือ คืออะไร?

นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์  และโฆษกกรมการแพทย์ กล่าวว่า  โรคผื่นผิวหนังอักเสบที่มือ เป็นโรคที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะวัยทำงาน เนื่องจากมือเป็นส่วนที่ต้องสัมผัสสารระคายเคืองได้บ่อย เช่น สบู่ ผงซักฟอก แชมพู หรือแม้แต่น้ำเปล่า ซึ่งจะทำให้หน้าที่การทำงานของเกราะป้องกันผิวลดลง ทำให้เกิดเป็นผื่น
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากสารเคมีหรือสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองทำให้ผิวหนังอักเสบจากการระคายเคือง หรือหากผิวหนังสัมผัสสารเคมี เช่น น้ำหอม ยาง หรือหนัง ทำให้เกิดการแพ้   จะเป็นลักษณะของผื่นแพ้สัมผัส บางรายอาจเป็นทั้งจากการระคายเคืองและการแพ้ร่วมกัน 
ทั้งนี้ระยะเวลาของการเกิดโรคอาจเป็นไม่นาน แต่ในบางรายอาจเป็นรุนแรงและนานหลายปี ทำให้มีผลต่อการทำงานและส่งผลต่อคุณภาพชีวิต 

กลุ่มเสี่ยงโรคผื่นผิวหนังอักเสบที่มือ

กลุ่มเสี่ยงโรคผื่นผิวหนังอักเสบที่มือ ได้แก่
  • ผู้ที่มีประวัติเป็นผื่นผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ในวัยเด็ก
  • ผู้ที่ทำงานโดยที่มือต้องสัมผัสน้ำบ่อยกว่า 10 ครั้งต่อวัน เช่น แม่บ้าน คนเลี้ยงเด็ก คนทำอาหาร ช่างเสริมสวย ช่างซ่อมเครื่องยนต์ ศัลยแพทย์  ทันตแพทย์ พยาบาล คนงานก่อสร้าง  เป็นต้น

อาการของโรคผื่นผิวหนังอักเสบที่มือ

แพทย์หญิงมิ่งขวัญ  วิชัยดิษฐ  ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวว่า ผู้ที่เป็นโรคผื่นผิวหนังอักเสบที่มือจะมีอาการดังนี้
  • ผื่นแดง คัน แห้ง ขุย
  • บางครั้งมีร่องแตก เจ็บ หรือมีตุ่มน้ำเล็ก ๆ ที่ฝ่ามือ หรือด้านข้างนิ้วมือ
  • บางรายอาจมีผื่นเฉพาะที่ เช่น บริเวณง่ามมือ กลางฝ่ามือ ปลายนิ้วมือ
  • หากมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน จะทำให้มี ตุ่มหนอง ผื่นบวมแดงเจ็บ มีน้ำเหลือง

การรักษาโรคผื่นผิวหนังอักเสบที่มือ

การรักษาส่วนใหญ่เป็นการควบคุมอาการ ไม่ได้ทำให้ผื่นหายขาด  แต่หากผู้ป่วยทราบสาเหตุของการแพ้  หลีกเลี่ยงสารเคมีที่แพ้ได้อย่างถูกต้อง และเริ่มรักษาตั้งแต่ระยะแรกจะทำให้โรคไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก

วิธีป้องกันโรคผื่นผิวหนังอักเสบที่มือ

  1. การทาครีมที่ให้ความชุ่มชื้น ทำให้สารเคมีที่แพ้หรือระคายเคืองเข้าสู่ผิวหนังได้ยากขึ้น ควรทาบ่อยเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะเมื่อพบว่ามือเริ่มแห้งไม่ชุ่มชื้นและทุกครั้งหลังล้างมือ โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีน้ำหอม ไม่ใส่สี ไม่มีส่วนผสมที่ทำให้เกิดการแพ้ ระคายเคือง
  2. ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือ ควรเลือกที่อ่อนโยน ไม่มีส่วนผสมของสบู่ที่จะทำให้มือแห้งระคายเคืองมากขึ้น อาจเลือกชนิดที่ผสมมอยซ์เจอร์ไรเซอร์ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น
  3. ไม่ควรใช้แอลกอฮอล์ ผงซักฟอก หรือน้ำยาทำความสะอาด มาใช้ทำความสะอาดมือ
  4. ไม่ควรล้างมือบ่อยเกินไป โดยไม่ควรเกิน 2-3 ครั้งต่อวัน
  5. ไม่ล้างมือด้วยน้ำอุ่นมากๆ เพราะจะทำให้ผิวหนังแห้งมากขึ้น
  6. หลังล้างมือซับมือให้แห้ง และทาผลิตภัณฑ์ให้ความชุ่มชื้นทุกครั้ง
  7. ควรสวมถุงมือเมื่อต้องทำงานสัมผัสกับน้ำ หรือสารระคายเคืองโดยเลือกใช้ถุงมือที่เหมาะสม ซึ่งไม่ควรใส่ถุงมือนานกว่า 20 นาที เพราะจะทำให้เกิดความอับชื้นหรือระคายเคืองได้ 
  8. หากต้องใส่เป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนถุงมือเมื่อรู้สึกว่าด้านในถุงมือเปียกชื้น และอาจใส่ถุงมือผ้าขาวไว้ข้างในถุงมืออีก 1 ชั้น เพื่อดูดซับเหงื่อ
  9. ควรทายาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง และไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการ และรับการรักษาต่อไป

วิธีปฐมพยาบาล คนที่โดนสาดน้ำกรด-กลืนน้ำกรดเข้าท้อง

วิธีปฐมพยาบาล คนที่โดนสาดน้ำกรด-กลืนน้ำกรดเข้าท้อง

วิธีปฐมพยาบาล คนที่โดนสาดน้ำกรด-กลืนน้ำกรดเข้าท้อง

  1. รีบพาผู้ป่วยพบแพทย์โดยเร็วที่สุด โดยนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หากมีตัวอย่างสารพิษที่ผู้ป่วยโดนสาด หรือดื่มเข้าไป ให้นำไปพร้อมผู้ป่วยด้วย ในกรณีไม่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยหรือไม่สามารถนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลได้ ให้โทร. 1669 (ทั่วประเทศ) เป็นเบอร์โทรศัพท์ของศูนย์นเรนทร กระทรวงสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ของศูนย์จะประสานงานไปยังศูนย์รถพยาบาลที่ใกล้ที่เกิดเหตุเพื่อให้การช่วยเหลือ
  2. หากผิวหนังสัมผัสกับสารละลายที่เป็นน้ำ ควรทำความสะอาดด้วยการล้างด้วยน้ำเปล่าให้เร็วที่สุด ยิ่งล้างได้มากเท่าไรยิ่งดี หากเป็นสารที่มาในรูปแบบของแข็ง เช่น ผงล้างห้องน้ำ หรือโลหะบริสุทธิ์ ควรปัดออกจากผิวหนังให้ได้มากที่สุดก่อนล้างด้วยน้ำ เพราะสารพิษที่เป็นของแข็ง อาจทำปฏิกิริยาอื่นๆ กับผิวหนังได้เมื่อสัมผัสกับน้ำ (ส่วนใหญ่ที่โดนๆ กันมักเป็นสารละลาย เป็นของเหลวมากกว่า ดังนั้นการล้างด้วยน้ำเปล่าจึงมีความปลอดภัย)
  3. ในกรณีที่เกิดเหตุในที่พัก สามารถล้างน้ำด้วยการใช้น้ำจากฝักบัวเปิดราดตั้งแต่หัวจรดเท้าได้ โดยให้ฝักบัวอยู่เหนือศีรษะ เงยหน้าขึ้นให้ล้างตาไปด้วย เปิดน้ำเบาๆ ไม่ต้องแรงมาก เพราะหากมีแผลอยู่ เนื้อเยื่อที่โดนแรงดันของน้ำจะยิ่งเสียหาย ล้างน้ำทั้งตัวโดยที่ยังใส่เสื้อผ้า จากนั้นค่อยๆ ถอดเสื้อผ้า หรือตัดผ้าในส่วนที่เปื้อนสารเคมีออกระหว่างที่กำลังล้างตัวอยู่ ควรสวมถุงมือ หรือระมัดระวังในการหยิบจับเสื้อผ้าในส่วนที่เปื้อนสารเคมีด้วย
  4. ควรล้างตัว หรือล้างแผลด้วยน้ำเปล่าให้ได้อย่างน้อย 5-10 นาทีระหว่างรอการมาถึงของรถพยาบาล หากล้างเสร็จแล้วยังมีอาการปวดแสบปวดร้อนที่แผลอีก ให้ล้างน้ำเปล่าซ้ำ
  5. กรณีที่โดนสาดสารเคมีเข้าที่มือ หากสวมแหวนหรือเครื่องประดับใดๆ อยู่ควรรีบถอดออก เพราะมืออาจจะบวมจนถอดแหวนไม่ได้ หรือแหวนรัดนิ้วเอาได้ รวมถึงสร้อยคอ สร้อยข้อมือ นาฬิกา ต่างหู และอื่นๆ ถ้าเป็นบริเวณที่โดนสาดสารเคมีด้วย
  6. ถ้าผู้ป่วยหมดสติ ชัก หรือ กินกรด ด่าง น้ำมันก๊าด เบนซิน หรือทินเนอร์ หรือถ้ายังไม่ทราบชนิดของสารพิษ ห้ามทำให้ผู้ป่วยอาเจียนโดยเด็ดขาด มักมีความเข้าใจผิดว่า ผู้ป่วยได้รับยาหรือสารพิษต้องปฐมพยาบาลโดยการทำให้ผู้ป่วยอาเจียน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยได้
  7. หากผู้ป่วยมีอาการชัก ไม่ควรจับผู้ป่วยนอนหงายแล้วยัดสิ่งของต่างๆ ทั้งช้อน หรือผ้านุ่มๆ ใส่ปากผู้ป่วยเด็ดขาด ควรจับผู้ป่วยนอนตะแคง หาอะไรมาหนุนที่ศีรษะ ถอดแว่นตา คลายเสื้อหรือกระดุมกางเกงให้ผ่อนคลายลง และไม่ควรยึดยื้อ ดึงรั้ง หรือตรึงแขนขาของผู้ป่วยขณะชัก
  8. เมื่อถึงมือแพทย์ อย่าลืมแจ้งแพทย์ว่าเกิดอะไรขึ้น หากเป็นการทำร้ายด้วยการถูกสาดน้ำกรด หรือถูกจับกรอกปาก จะได้ให้ทางโรงพยาบาลจดบันทึกเอาไว้เพื่อนำไปแจ้งความต่อได้ทันที

ภัยสุขภาพจาก "พลาสติก" งานวิจัยชี้ BPA และ BPS อันตรายทั้งคู่

ภัยสุขภาพจาก "พลาสติก" งานวิจัยชี้ BPA และ BPS อันตรายทั้งคู่
มีหลายการศึกษาพิสูจน์ว่า สารเคมีในพลาสติก อย่าง BPA (Bisphenol-A) ที่อยู่ในขวดน้ำพลาสติก และภาชนะบรรจุอาหาร สามารถปลดปล่อยเข้าสู่อาหารและเครื่องดื่ม แล้วเข้าไปในร่างกายได้ เนื่องจากสารดังกล่าวมีการออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนต่างๆ ของมนุษย์ จึงอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพหลายประการ ภัยสุขภาพจากพลาสติก จากข้อกังวลดังกล่าวเกี่ยวกับ ภัยสุขภาพจากพลาสติก เหล่านี้ ทำให้ผู้ผลิตพลาสติกส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนมาใช้สาร Bisphenol-S (ชนิดใกล้เคียงกับสาร Bisphenol-A) ซึ่งเชื่อว่ามีความปลอดภัย แต่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มมากขึ้น ดูเหมือนจะชี้ให้เห็นเป็นอย่างอื่น

การศึกษาในสัตว์มีการโยงสาร Bisphenol-S และสาร Bisphenol-A กับความเสี่ยงต่อสุขภาพต่างๆ

นักวิทยาต่อมไร้ท่อ (Endocrinologists) จากมหาวิทยาลัย UCLA ในสหรัฐฯ ทำการศึกษาปลาม้าลาย เพื่อดูว่าจะเกิดผลกระทบอะไรบ้าง จากการได้รับสาร Bisphenol-S ในระดับต่ำ การสัมผัสสาร Bisphenol-S เร่งการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในครรภ์ และมีผลต่อเซลล์ของต่อมไร้ท่อในสมองของลูกปลาม้าลาย ความไม่สมดุลของฮอร์โมนยังทำให้การสืบพันธุ์ของปลาเสียหายอย่างถาวร นอกจากนี้ สาร Bisphenol-S ยังรายงานว่า มีผลเช่นเดียวกับคุณสมบัติของฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการทำงานของสมอง
นักวิจัยไม่สามารถทำการทดสอบนี้ในมนุษย์ เนื่องจากเหตุผลทางจรรยาบรรณ ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุดที่แพทย์สามารถทำได้ก็คือ การศึกษาในสัตว์ต่างๆ และเซลล์มนุษย์ ปลาม้าลายเป็นสายพันธุ์ปลาลำดับที่สอง ที่แสดงให้เห็นถึงการรบกวนต่อระบบสืบพันธ์ุ จากการสัมผัสสาร Bisphenol-S เนื่องจากฮอร์โมนไทรอยด์มีส่วนอย่างมากในพัฒนาการของสมอง การรบกวนใดๆ ต่อฮอร์โมนนี้ในช่วงใดของชีวิตก็ตาม ถือเป็นอันตราย แต่มีความอันตรายมากในระยะของการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในครรภ์

ทำไมผลการตรวจจึงทำให้กังวล

การทดสอบกับเซลล์มนุษย์ที่ได้รับการเพาะเลี้ยง แสดงให้เห็นว่าเซลล์มะเร็งมีการเจริญเติบโต เมื่อมีสาร BPS หรือสาร BPA ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าระยะที่รุนแรงที่สุดของมะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งเต้านม อาจเชื่อมโยงโดยตรงกับการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนพลาสติกที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ถึงแม้ว่าความเชื่อมโยงดังกล่าวไม่ได้พิสูจน์ถึงสาเหตุ แต่ก็เป็นสิ่งสมเหตุสมผล ที่จะเพิ่มการตระหนักรู้ของคนทั่วไป เกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพ จากสาร Bisphenol-S
สาร Bisphenol-S และสาร Bisphenol-A ถูกทำลายได้อย่างรวดเร็ว แต่ปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่การสัมผัสสารดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้สารดังกล่าว เกือบกลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบของเลือด คนโดยเฉลี่ยตรวจพบว่ามีสาร Bisphenols ได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ ยังมีสารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ (Endocrine Disruptors) เป็นจำนวนมากในระบบของเรา ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้ในอนาคต

การป้องกันสาร Bisphenol-S และสาร Bisphenol-A

สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำได้ เพื่อป้องกันสาร Bisphenol-S และสาร Bisphenol-A ก็คือ การหลีกเลี่ยงการใช้พลาสติกให้มากที่สุด ไม่ดื่มน้ำ รับประทานอาหาร หรือเก็บอาหารในภาชนะพลาสติก ไม่นำอาหารที่มีภาชนะพลาสติกเข้าเตาอบไมโครเวฟ
ยังไม่สายเกินไปที่จะเปลี่ยนแปลงในตอนนี้ หากคุณต้องการเปลี่ยนแปลง ให้เริ่มงดใช้ภาชนะพลาสติก และใช้ภาชนะที่ทำจากแก้วแทน ภาชนะที่ทำจากแก้วอาจไม่สะดวกเท่าการใช้ภาชนะพลาสติก แต่ในระยะยาวแล้ว สุขภาพของคุณ จะต้องขอบคุณต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

สารเคมีตกค้างในผักผลไม้ ล้างออกด้วยน้ำเปล่าหรือไม่?

สารเคมีตกค้างในผักผลไม้ ล้างออกด้วยน้ำเปล่าหรือไม่?
ผักผลไม้ที่เราทานกันอยู่ทุกวันนี้ ส่วนใหญ่มาจากผลผลิตทางการเกษตรที่มีการปลูกกันในพื้นที่ขนาดใหญ่ วางจำหน่ายครั้งละจำนวนมหาศาล การดูแลผักผลไม้จำนวนมากด้วยวิธีที่สะดวกรวดเร็ว คือการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืชทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นแมลงต่างๆ หรือโรคร้ายจากเพลี้ย เชื้อรา และอื่นๆ ที่ทำลายคุณภาพของพืช แต่การใช้สารเคมีเหล่านี้จะปลอดภัยต่อมนุษย์อย่างเรามากแค่ไหน การล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่าให้ผลดีมากน้อยแค่ไหน?

สารเคมีตกค้างในผักผลไม้ ล้างไม่ออก?

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระบุในเฟซบุคส่วนตัวว่า สารเคมีตกค้างในพืชผักส่วนใหญ่ล้างด้วยน้ำไม่ออก โดยยังหลงเหลือสารตกค้างอยู่ในผักผลไม้ได้มากถึง 60% (มีตัวอย่างการแช่ผักประเภทหัวกะหล่ำ อย่างผักกาดขาว ในน้ำใส่สี พบว่าผักดูดซึมน้ำใส่สีนั้นเข้าไปในผักอย่างเห็นได้ชัดเจน)
นอกจากนี้สารเคมีที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืชที่ขึ้นทะเบียนในประเทศไทยมีมากถึง 280 ชนิด แต่ที่สุ่มตรวจเจอกันได้เพียง 10% ของจำนวนสารเคมีที่ใช้ในประเทศทั้งหมดเท่านั้น

เรายังต้องล้างผักผลไม้ก่อนทานอยู่หรือไม่?

แม้ว่าสารเคมีตกค้างในผักผลไม้จะไม่สามารถล้างออกได้ 100% แต่เรายังมีความจำเป็นต้องล้างผักผลไม้ก่อนทานให้สะอาดทุกครั้ง เพราะนอกจากสารเคมีตกค้างแล้ว ยังมีอันตรายจากไข่พยาธิที่ปนเปื้อนมาจากปุ๋ยคอกที่มีผสมของมูลสัตว์ และสิ่งสกปรกอื่นๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา ที่อาจทำให้เกิดอาการท้องร่วง ท้องเสียเมื่อรับประทานผักผลไม้สดๆ เข้าไปในร่างกายอีกด้วย

วิธีลดอันตรายจากสารเคมีตกค้างในผักผลไม้

  1. เลือกซื้อผักผลไม้อินทรีย์ ที่ไม่ใช้ หรือใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชน้อยที่สุด โดยสังเกตจากตรารับรองจากราชการ ที่มีการควบคุมปริมาณในการใช้สารเคมีให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หรือยืนยันว่าไม่มีการใช้สารเคมีจริง
  2. บริโภคผักพื้นบ้าน ที่ปลูกง่าย ไม่ค่อยมีโรค และแมลงรบกวนมาก เช่น หน่อไม้ กระถิน หัวปลี ยอดแค แตงร้าน สะตอ ถั่วงอก ฟักทอง บวบ ใบชะพู ผักกูด สายบัว ใบโหระพา ใบยอ ใบแมงลัก ใบขี้เหล็ก ตำลึง ยอดแค ยอดมะละกอ ชะอม เป็นต้น
  3. เลือกผักที่มีรูพรุนจากการแทะของแมลง หรือหนอนบ้าง เพราะแปลว่าไม่ได้ใช้ยาฆ่าแมลงมากเกินไป
  4. เลือกทานผักที่ปรุงสุกด้วยความร้อน เช่นการต้ม ลวก ช่วยลดสารพิษได้มาก (หากต้ม หรือลวกผัก ควรเทน้ำทิ้ง)
  5. ปอกเปลือกชั้นนอกออกก่อนทาน เช่น กะหล่ำปลี ลอกใบด้านนอกออกเล็กน้อยก่อนทาน
  6. ล้างผักอย่างถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็นการล้างน้ำผ่านก๊อก น้ำยาล้างผัก แช่น้ำก่อนล้าง น้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนต และอื่นๆ

งงทั้งเมือง! หมาตัวฟ้าตะลอนมุมไบ เชื่อเปลี่ยนสีเพราะสารเคมี


สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า มีผู้พบสุนัขตัวสีฟ้าสว่างอย่างประหลาดหลายตัวเดินอยู่ในนครมุมไบ ประเทศอินเดีย ตั้งแต่เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา สร้างความสับสนงุนงงให้กับชาวเมืองอย่างมากว่า เกิดอะไรขึ้นกับพวกมันจนมีสภาพเป็นเช่นนี้ โดยมีคำอธิบายที่น่าเป็นไปได้คือ พวกมันอาจได้รับผลกระทบจากปฏิกิริยาของสารเคมีที่ถูกทิ้งลงสู่แม่น้ำ คาซาดี ในเขตนาวี
ข่าวระบุว่า สุนัขจรจัดเหล่านี้มักลงไปในแม่น้ำสายดังกล่าวเป็นประจำเพื่อหาอาหาร แต่พื้นที่บริเวณนั้นเต็มไปด้วยมลพิษอย่างรุนแรง โดยแม่น้ำคาซาดี อยู่ใกล้กับนิคมอุตสาหกรรมซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานเกือบ 1,000 โรงงาน และคาดกันว่า โรงงานผลิตนำ้ยาทำความสะอาดได้ปล่อยสีย้อมลงแม่น้ำ จนทำให้สุนัขขนเปลี่ยนสี
นายอาระตี เชาฮาน จากกลุ่มคุ้มครองสัตว์นาวีมุมไบ ระบุว่า “เป็นเรื่องน่าตกใจมากที่ขนสีขาวของสุนัขเหล่านี้เปลี่ยนเป็นสีฟ้า” เขากล่าวเสริมด้วยว่า “พวกเราเห็นสุนัขสภาพแบบนี้อย่างน้อย 5 ตัว และได้ร้องเรียนให้คณะกรรมการควบคุมมลภาวะเข้ามาจัดการกับโรงงานที่ปล่อยของเสียแล้ว”
ขณะที่ชาวบ้านที่ไม่พอใจกับกรณีที่เกิดขึ้น ได้ส่งคำร้องไปยังสำนักงานสิ่งแวดล้อมส่วนภูมิภาคแล้ว และเรียกร้องให้ทางการออกมาตรการเพื่อลดมลภาวะ ซึ่งนางอานิล โมหการ จากคณะกรรมการควบคุมมลภาวะรัฐมหาราษฏระ กล่าวว่า การปล่อยสีย้อมลงแม่น้ำเป็นเรื่องผิดกฎหมาย และให้คำมั่นจะลงโทษผู้กระทำผิด
ทั้งนี้ แม่น้ำคาซาดีตกเป็นประเด็นที่ถูกร้องเรียนหลายครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากปัญหามลภาวะ รวมทั้งระดับคลอไรด์ในน้ำสูง ขณะที่ระดับออกซิเจนกลับต่ำ จนเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562

ดูงานกัญชาที่จีน




จีนเป็นประเทศที่มีอาหารปลอมเยอะ มีการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลงกันอย่างบ้าเลือด รัฐบาลปราบปรามและลงโทษอย่างจริงจังก็ยังแก้ไขได้ไม่หมด เรื่องอาหารและการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ชายชาวจีน ทำให้สถิติการเป็นมะเร็งของคนจีนเพิ่มมากขึ้นทุกปี
ถ้าเข้าไปดูในโซเชียลมีเดียของจีนจะเห็นว่ามีเรื่องเล่าของผู้คนที่เป็นมะเร็งและหายอย่างมหัศจรรย์โดยใช้น้ำมันกัญชาเต็มไปหมด ทั้งเรื่องจริง เรื่องเท็จ ทำให้มิจฉาชีพทำน้ำมันกัญชาปลอมออกมาจำหน่ายใต้ดินกันเป็นล่ำเป็นสัน
หัวข้อสนทนาของคนในครอบครัวของผมตั้งแต่พ่อตา แม่ยาย ญาติพี่น้องเพื่อนฝูง ก็คือเรื่องความมหัศจรรย์พันลึกของกัญชา และก็จะถามกันเรื่องการซื้อหาน้ำมันกัญชา ทั้งที่ยังผิดกฎหมายจีน มีการออกไปสุ่มตรวจน้ำมันกัญชาในจีน พบว่ามากกว่าร้อยละ 90 ของปลอมทั้งนั้น ไม่มีสารอะไรที่เกี่ยวดองหนองยุ่งกับกัญชาเลย อีกร้อยละ 10 ก็มีสารสกัดจากกัญชาจำนวนน้อย
นายลีโอ หยู ประธานบริษัทฟาร์มาซูติคอล เล่าให้พ่อผมฟังว่า เรื่องกัญชาที่กำลังฮิตติดจรวดในจีนในขณะนี้ เป็นของปลอมมากกว่าของจริง และทำให้เกิดการเข้าใจผิดๆในการรักษาโรคต่างๆ นายหยูจบปริญญาตรีด้านแมคคานิกส์และหุ่นยนต์จากมหาวิทยาลัยชิงหัว สถาบันเดียวกับประธานาธิบดีสิ จิ้น ผิง หลังจากนั้น ก็ไปจบปริญญาโทด้านการบริหารที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งและมหาวิทยาลัยชิงหัวอีกอย่างละใบ เดิมทำงานเกี่ยวกับหุ่นยนต์ ได้รับการติดต่อให้มาดูแลเรื่องกัญชา แกก็ยินดีเปลี่ยนสายงานมาบริหารงานกัญชา

เฝ้าระวังแผ่นดินอาบพิษ สู้!กับมือที่มองไม่เห็น


                 
คำเตือน! เรื่อง “สุขภาพ”...เฝ้าระวังแผ่นดินอาบสารพิษยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง ผ่านมานับเดือนนับปีแล้วก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติ...เลิกใช้ 3 สารเคมีอันตรายลงไปได้ ตรงกันข้ามเสมือนกับว่าหมอ...นักวิชาการผู้ที่ออกมาเตือนถึงอันตรายจะถูกรังแกเสียด้วยซ้ำ
สะท้อนได้จาก...หนังสือด่วนที่สุดจากต้นสังกัด บันทึกข้อความ “ลับ” ส่งตรงมายัง ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา เรื่อง...แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริง กรณีมหาวิทยาลัยได้รับเรื่องร้องเรียนกล่าวหาว่าท่านได้ออกข่าวว่าวงการแพทย์พบคนไข้ตายจากสารพาราควอตจำนวนมาก
แต่ไม่ได้ระบุสาเหตุแห่งการตาย ซึ่งเป็นการนำข้อมูลด้านการแพทย์ให้ข่าวไม่หมด สร้างความเข้าใจผิดให้สังคมทำให้ “เกษตรกร” เป็นแพะรับบาปจากการใช้สารเคมีและได้นำเสนอข่าวเกี่ยวกับสารตกค้างในผักและผลไม้ โดยกล่าวถึงห้องปฏิบัติการที่ไทยแพลนใช้ตรวจสอบสารได้มากกว่า 400 ชนิด
และผู้ถูกร้องเรียนยังได้โพสต์เฟซบุ๊กที่มีข้อความระบุชื่อ...นางสาว ...ดำเนินกิจกรรมโดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัทผู้ผลิตและผู้ขายสารพิษพาราควอตและคลอร์ไพริฟอส และเบื้องหลังเครือข่ายอาสาคนรักแม่กลองเป็นตัวแทนบริษัทค้าสารพิษ       
                                                                              ที่มา:https://www.thairath.co.th/news/local/1646848                                                

“ผื่นผิวหนังอักเสบที่มือ” โรคฮิตวัยทำงาน จากการสัมผัส “น้ำ-ผงซักฟอก-แชมพู”

สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ เผยผู้ที่มีอาชีพที่มือต้องสัมผัสกับน้ำเป็นประจำ  ผู้ที่เป็นผื่นผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ในวัยเด็ก เสี่ยงโรคผิวห...